โทรเลย 062 257 8500

111/51 ซอยลาซาล32, แขวงบางนาใต้, เขตบางนา, กทม.

วันทำงาน

จันทร์ - เสาร์: 8:00 - 18:00 อาทิตย์ : หยุด

บริการของเรา

Business Valuation

ในโลกการระดมทุน การประเมินมูลค่าธุรกิจ มักจะเป็นอีกหนึ่งประเด็นสำคัญที่ไม่มีคำตอบที่ถูกต้อง หรือถูกใจทุกๆฝ่ายเสมอไป ผู้ประกอบการทั่วไปหรือนักลงทุนที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับการลงทุนในโลกสตาร์ทอัพ มักจะสงสัยว่าการประเมินมูลค่าธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้นจะทำได้อย่างไร เพราะการประมาณการ รายได้ งบดุล หรือกระแสเงินสด ก็เป็นเพียงการประเมินแนวโน้มทางธุรกิจที่ไม่เคยมีใครทำได้ถูกต้องทั้งหมด หรือแม้แต่ผู้ประกอบการเองที่กำลังอยู่ในกระบวนการระดมทุนก็อาจจะสงสัยว่า มูลค่าธุรกิจของตนนั้นควรเป็นเท่าไหร่ แล้วควรจะเริ่มต้นการเจรจา Valuation อย่างไร จะบอกตัวเลขไปเลย หรือให้นักลงทุนเสนอมา

Valuation หรือการประเมินมูลค่าทางธุรกิจ ถือเป็น การกำหนดราคาหุ้นในการเข้าร่วมทุน เปรียบเสมือน ราคาในการซื้อขายสินค้า ดังนั้น ผู้ประกอบการ ที่ต้องการขายหุ้นในสัดส่วนหนึ่งของบริษัทให้กับนักลงทุนเพื่อการระดมทุน ควรจะตั้งต้นด้วยการประเมินมูลค่าบริษัทของตัวเองก่อน ในหลายครั้ง คุณ Douglas มักพบผู้ประกอบการที่นำเสนอแผนธุรกิจเพื่อการระดมทุน แต่ไม่ได้ระบุ Your ASK ซึ่งหมายถึง มูลค่าธุรกิจ และสัดส่วนหุ้น ในการระดมทุนรอบนั้นๆ ซึ่งมักจะสร้างความสับสนให้นักลงทุน เปรียบเสมือนสถานการณ์ที่ผู้ขายต้องการขายสินค้าแต่ไม่ได้ระบุราคาขายสินค้าชิ้นนั้น ที่แย่ไปกว่านั้นคือ ผู้ประกอบการบางท่าน มักจะบอกว่า ให้นักลงทุนประเมินมูลค่าธุรกิจได้เลย ซึ่งนั่น เป็นข้อผิดพลาดอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะการยกหน้าที่การประเมินมูลค่าธุรกิจให้นักลงทุนนั้น ก็เท่ากับว่าผู้ประกอบการเสียเปรียบตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่มการเจรจา เหตุผลหลักเป็นเพราะว่า นักลงทุนอาจจะประเมินมูลค่าทางธุรกิจที่ต่ำกว่าระดับค่าเฉลี่ย ดังนั้นผู้ประกอบการควรประเมินมูลค่าธุรกิจของตัวเอง และตั้งมูลค่าธุรกิจในระดับที่สูงกว่าระดับที่ต้องการไว้ ในการเจรจาต่อรอง

วิธีการประเมินมูลค่าธุรกิจที่เราคุ้นเคยในโลกการเงิน ประกอบดัวยวิธีหลัก 5 วิธีได้แก่

1) Price to Earning

2) Dividend Yields

3) Multiple of Book Values

4) Comparables

5) Discounted Cash Flows

เนื่องจากการสร้างมูลค่าทางธุรกิจของสร้างอัพนั้นแตกต่างจากบริษัทจดทะเบียน ที่มุ่งเน้นการสร้างการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาวหรือการให้ผลตอบแทนผู้ถือหุ้นในรูปแบบการจ่ายเงินปันผล ดังนั้นวิธีการประเมินมูลค่าธุรกิจในปัจจุบัน ข้อ 1-3 ได้แก่ P/E, Dividend Yield, Book Value จึงไม่เหมาะในการประเมินมูลค่าสตาร์ทอัพ

วิธีที่การประเมินมูลค่าด้วยแนวคิดเดียวกันนี้คือ Comparables หรือวิธีการเปรียบเทียบหลักทรัพย์ที่มีลักษณะคล้ายกัน มักพบข้อจำกัดด้านการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทำให้การใช้วิธีนี้ในการประเมินมูลค่าสตาร์ทอัพทำได้โดยการเทียบเคียงมูลค่าตามระยะของการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพ (Stage) เท่านั้น

สนใจบริการ จัดทำ Business Valuation